Month: March 2020

มาตรา 1755  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ อายุความหนึ่งปีนั้นจะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่โดยบุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท จะทำอย่างไร?
          มาตรา 1755 อายุความหนึ่งปีนั้น จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่โดยบุคคลซึ่งเป็นทายาท หรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท หรือโดยผู้จัดการมรดก
        พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และ 2 ที่ได้ตรวจชำระใหม่
         
        พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ที่ได้ตรวจชำระใหม่
         
        พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
         
        *พระราชบัญญัติเทียบตำแหน่งรัฐมนตรีกับตำแหน่งเสนาบดีแต่ก่อน พุทธศักราช 2475

มาตรา 1754  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี จะทำอย่างไร?
          มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
        คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม
        ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
        ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย
        [เลขมาตรา 193/27 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535]

มาตรา 1753  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก จะทำอย่างไร?
          มาตรา 1753 ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน

มาตรา 1752  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ คดีฟ้องให้รับผิดเนื่องจากการรอนสิทธิตามมาตรา จะทำอย่างไร?
          มาตรา 1752 คดีฟ้องให้รับผิดเนื่องจากการรอนสิทธิตามมาตรา 1751 นั้น มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่เมื่อถูกรอนสิทธิ

มาตรา 1751  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ ภายหลังที่ได้แบ่งมรดกกันแล้ว จะทำอย่างไร?
          มาตรา 1751 ภายหลังที่ได้แบ่งมรดกกันแล้ว ถ้าทรัพย์สินทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งทายาทคนใดคนหนึ่งได้รับตามส่วนแบ่งปันนั้น หลุดมือไปจากทายาทคนนั้นเนื่องจากการรอนสิทธิ ทายาทคนอื่น ๆ จำต้องใช้ค่าทดแทน
        หนี้เช่นว่านั้น เป็นอันระงับเมื่อมีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น หรือการรอนสิทธิเป็นผลเนื่องมาจากความผิดของทายาทผู้ถูกรอนสิทธิ หรือเนื่องมาจากเหตุซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการแบ่งปัน
        ทายาทคนอื่น ๆ ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่ทายาทผู้ถูกรอนสิทธิตามส่วนแห่งส่วนแบ่งของตน แต่ให้หักจำนวนที่เป็นส่วนเฉลี่ย ซึ่งทายาทผู้ถูกรอนสิทธิจะต้องออกกับเขาด้วยนั้นออกเสีย แต่ถ้าทายาทคนใดคนหนึ่งเป็นคนหนี้สินล้นพ้นตัว ทายาทคนอื่น ๆ ต้องรับผิดในส่วนของทายาทคนนั้นตามส่วนเฉลี่ยเช่นเดียวกัน แต่ให้หักจำนวนที่เป็นส่วนเฉลี่ยซึ่งทายาทผู้ที่จะได้รับค่าทดแทนจะต้องออกแทนทายาทผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้นออกเสีย
        บทบัญญัติในวรรคก่อน ๆ มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ

มาตรา 1750  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น จะทำอย่างไร?
          มาตรา 1750 การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด หรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท
        ถ้าการแบ่งปันมิได้เป็นไปตามวรรคก่อน แต่ได้ทำโดยสัญญา จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ เว้นแต่จะมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ในกรณีเช่นนี้ให้นำมาตรา 850, 852 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยประนีประนอมยอมความมาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 1749  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ ถ้ามีคดีฟ้องเรียกทรัพย์มรดก จะทำอย่างไร?
          มาตรา 1749 ถ้ามีคดีฟ้องเรียกทรัพย์มรดก ผู้ซึ่งอ้างว่าตนเป็นทายาทมีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้น จะร้องสอดเข้ามาในคดีก็ได้
        แต่ศาลจะเรียกทายาทอื่น นอกจากคู่ความ หรือผู้ร้องสอด ให้เข้ามารับส่วนแบ่ง หรือกันส่วนแห่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นนั้นไม่ได้

มาตรา 1748  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน จะทำอย่างไร?
          มาตรา 1748 ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน ทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วก็ดี
        สิทธิที่จะเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกตามวรรคก่อน จะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้

มาตรา 1747  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ การที่ทายาทคนใดได้รับทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด จะทำอย่างไร?
          มาตรา 1747 การที่ทายาทคนใดได้รับทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด หรือประโยชน์อย่างอื่นใดจากเจ้ามรดกโดยการให้ หรือโดยการอย่างอื่นใด ซึ่งทำให้โดยเสน่หาในระหว่างเวลาที่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่นั้น หาทำให้สิทธิในการแบ่งปันทรัพย์มรดกของทายาทคนนั้น ต้องเสื่อมเสียไปแต่โดยประการใดไม่
        

มาตรา 1746  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย จะทำอย่างไร?
          มาตรา 1746 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย หรือข้อความในพินัยกรรมถ้าหากมี ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้เป็นทายาทด้วยกันมีส่วนเท่ากันในกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง