Month: February 2020

ความหมายของ “เจตนาซ่อนเร้น”


ก่อนจะกล่าวถึง เจตนาซ่อนเร้น ควรมารู้ความหมายของคำว่าเจตนาการแสดงเจตนา  หมายถึง การแสดงออกมาว่าต้องการจะกระทำสิ่งใด  กระทำอย่างไร เมื่อแสดงเจตนาออกมาอย่างไรแล้ว ผลของการแสดงเจตนาก็ย่อมเป็นเช่นนั้น ถ้าไม่มีการกระทำอันเป็นการแสดง เจตนาออกมานิติกรรมก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะไม่มีใครทราบได้ว่าผู้ทำนิติกรรมต้องอะไร    

การแสดงเจตนาที่เกี่ยวกับการทำนิติกรรมนั้นมีมากมายหลายกรณีมาก  ซึ่งวันนี้ผู้เขียนขอยกเรื่อง เจตนาซ่อนเร้นมาอธิบายให้ทุก ๆ คนได้ศึกษากันก่อนนะคะ

เจตนาซ่อนเร้น

เจตนาซ่อนเร้น  คือการที่ในใจของผู้แสดงเจตนาไม่ได้ต้องการให้มีผลผูกพันอย่างที่ได้แสดงเจตนาออกมา แต่อาจจะมีเหตุผลหรือสาเหตุที่ทำ ให้ต้องแสดงเจตนาอย่างนั้นออกมาไม่ว่าสาเหตุหรือเหตุผลนั้นจะฟังขึ้นหรือไม่อย่างไรก็ตาม    

ตัวอย่างเช่น  นาย A ต้องการโอ้อวดแฟนสาวรุ่นราวหลานว่าตนเป็นคนที่ร่ำรวยมาก จึงได้พาแฟนสาวไปยังร้านทองทำทีเป็นไปขอซื้อทองคำแท่งมาเก็บไว้ทั้ง ๆ ที่ในใจไม่ได้ต้องที่จะผูกพันตามที่ได้แสดงเจตนาออกมาเลย    

ผลของการแสดงเจตนาซ่อนเร้นนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 154 ได้วางหลักไว้ว่า  การแสดงเจตนาใดแม้ในใจจริงผู้แสดงจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ได้แสดงออกมาก็ตาม หาเป็นมูลเหตุให้การแสดงเจตนาเป็นโมฆะไม่  

ดังนั้น  เมื่อนาย A แสดงเจตนาออกไปเช่นไรแล้วผลย่อมสมบูรณ์ตามนั้น  ผูกพันตามที่ตนได้แสดงเจตนาออกไป นาย A ต้องยอมรับเอาทองคำแท่งและจ่ายเงินให้แก่เจ้าของร้านทอง การแสดงเจตนาออกมาทั้ง ๆ ที่ในใจไม่ต้องการจะผูกพัน ไม่เป็นเหตุให้การแสดงเจตนาเป็นโมฆะอันจะทำให้นิติกรรมนี้ไร้ผล  

อย่างไรก็ตามกฎหมายก็ได้วางหลักในเรื่องข้อยกเว้นของเจตนาซ่อนเร้นไว้ในตอนท้ายของมาตราเดียวกันนี้ด้วย กล่าวคือ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ภายในใจของผู้แสดงนั้น   

ดังนั้น หากเจ้าของร้านทองรู้ถึงเจตนาภายในใจของนาย A ว่าไม่ต้องการได้ทองคำแท่งจริง ๆ เพียงแค่ต้องการโอ้อวดแฟนสาวรุ่นราวหลาน การซื้อขายทองคำแท่งครั้งนี้ย่อมเป็นโมฆะ มีผลเท่ากับว่านิติกรรมนี้ไม่มีผลมาตั้งแต่แรก เป็นอันไร้ผล


ความหมายของเจตนาซ่อนเร้น อ้างอิงจาก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 154 

ความหมายของการแสดงเจตนา อ้างอิงจาก https://actinthelaw.blogspot.com/p/blog-page_5490.html

เขียนโดย คุณฐิติพร เศวตศิลป์

มาตรา 303

หาทนายเกี่ยวกับทำแท้งโดยไม่ยินยอมนั้นมีความผิด แล้วถ้าทำแท้งจนผู้หญิงมีอันตราย แล้วต้องทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 303  ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท

มาตรา 302

หาทนายเกี่ยวกับทำแท้งโดยยินยอมนั้นมีความผิด แล้วถ้าทำแท้งจนผู้หญิงถึงแก่ความตาย แล้วต้องทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 302  ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

มาตรา 301

หาทนายเกี่ยวกับทำแท้งด้วยตนเอง ยอมให้ผู้อื่นมาทำให้แท้ง หรือ ทำให้แท้งโดยไม่ได้ตั้งใจ แล้วมีความผิดจะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 301  หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 326

หาทนายเกี่ยวกับโดนใส่ความ หมิ่นประมาท ทำให้เสียชื่อเสียง ถูกคนเข้าใจผิดและเกลียดชัง จะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 326  ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 112

หาทนายเกี่ยวหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ รีทวิตโดยไม่ได้ตั้งใจ แล้วมีคนในวังติดต่อมาจะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 112  ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี

มาตรา 358

หาทนายเกี่ยวกับทำให้เสียทรัพย์ ทำให้สิ่งของนั้นเสื่อมค่าลง จะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 358  ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 357

หาทนายเกี่ยวกับรับซื้อของโจร รับมาโดยไม่รู้ว่าเป็นของโจร กลัวว่าจะต้องมีความผิด จะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 357  ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไรหรือได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา 335 (10) ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา 335 ทวิ การชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 ทวิ หรือการปล้นทรัพย์ตามมาตรา 340 ทวิ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท

มาตรา 352

หาทนายเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตัวเอง ตนอบตรองของที่ไม่ใช่ของตัวเอง แล้วกังวลว่ามีความผิดจะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 352  ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง

มาตรา 277

หาทนายเกี่ยวกับทำร้ายร่างกายผู้ที่ยังเป็นเด็ก โดยที่ไม่ใช่สามีหรือภริยานั้นมีความผิดจะต้องทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 277  ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสามได้กระทำโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงหรือกระทำกับเด็กชายในลักษณะเดียวกันหรือได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกระทำโดยบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปีกระทำต่อเด็ก ซึ่งมีอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กผู้ถูกกระทำนั้นยินยอม ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวจะพิจารณาให้มีการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กผู้ถูกกระทำหรือผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก หรือจะอนุญาตให้ทั้งสองฝ่ายสมรสกันโดยกำหนดเงื่อนไขให้ต้องดำเนินการภายหลังการสมรสก็ได้ และเมื่อศาลได้พิจารณามีคำสั่งอย่างใดแล้ว ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ในการพิจารณาของศาลให้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ สิ่งแวดล้อมของผู้กระทำความผิดและเด็กผู้ถูกกระทำ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำความผิดกับเด็กผู้ถูกกระทำ หรือเหตุอื่นอันควรเพื่อประโยชน์ของเด็กผู้ถูกกระทำด้วย