มาตรา 869  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ อันคำว่า“วินาศภัย” จะทำอย่างไร?
          มาตรา 869 อันคำว่า “วินาศภัย” ในหมวดนี้ ท่านหมายรวมเอาความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้

มาตรา 868  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ อันสัญญาประกันภัยทะเล จะทำอย่างไร?
          มาตรา 868 อันสัญญาประกันภัยทะเล ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายทะเล

มาตรา 867  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ อันสัญญาประกันภัยนั้น จะทำอย่างไร?
          มาตรา 867 อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
        ให้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความต้องตามสัญญานั้นแก่ผู้เอาประกันภัยฉบับหนึ่ง
        กรมธรรม์ประกันภัย ต้องลงลายมือชื่อของผู้รับประกันภัยและมีรายการ ดังต่อไปนี้
        (1) วัตถุที่เอาประกันภัย
        (2) ภัยใดซึ่งผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง
        (3) ราคาแห่งมูลประกันภัย ถ้าหากได้กำหนดกันไว้
        (4) จำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย
        (5) จำนวนเบี้ยประกันภัย และวิธีส่งเบี้ยประกันภัย
        (6) ถ้าหากสัญญาประกันภัยมีกำหนดเวลา ต้องลงเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดไว้ด้วย
        (7) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับประกันภัย
        (8) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้เอาประกันภัย
        (9) ชื่อของผู้รับประโยชน์ ถ้าจะพึงมี
        (10) วันทำสัญญาประกันภัย
        (11) สถานที่และวันที่ได้ทำกรมธรรม์ประกันภัย

มาตรา 866  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ ถ้าผู้รับประกันภัยได้รู้ข้อความจริงดังกล่าวในมาตรา จะทำอย่างไร?
          มาตรา 866 ถ้าผู้รับประกันภัยได้รู้ข้อความจริงดังกล่าวในมาตรา 865 นั้นก็ดีหรือรู้ว่าข้อแถลงความเป็นความเท็จก็ดี หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากใช้ความระมัดระวังดังจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชนก็ดี ท่านให้ฟังว่าสัญญานั้นเป็นอันสมบูรณ์

มาตรา 865  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ ถ้าในเวลาทำสัญญาประกันภัย จะทำอย่างไร?
          มาตรา 865 ถ้าในเวลาทำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ
        ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกำหนดห้าปีนับแต่วันทำสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป

มาตรา 864  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ เมื่อคู่สัญญาประกันภัยยกเอาภัยใดโดยเฉพาะขึ้นเป็นข้อพิจารณาในการวางกำหนดจำนวนเบี้ยประกันภัย จะทำอย่างไร?
          มาตรา 864 เมื่อคู่สัญญาประกันภัยยกเอาภัยใดโดยเฉพาะขึ้นเป็นข้อพิจารณาในการวางกำหนดจำนวนเบี้ยประกันภัย และภัยเช่นนั้นสิ้นไปหามีไม่แล้ว ท่านว่าภายหน้าแต่นั้นไป ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะได้ลดเบี้ยประกันภัยลงตามส่วน

มาตรา 863  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ อันสัญญาประกันภัยนั้น จะทำอย่างไร?
          มาตรา 863 อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด

มาตรา 862  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ ตามข้อความในลักษณะนี้คำว่า จะทำอย่างไร?
          มาตรา 862 ตามข้อความในลักษณะนี้
        คำว่า “ผู้รับประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้
        คำว่า “ผู้เอาประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย
        คำว่า “ผู้รับประโยชน์” ท่านหมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือรับจำนวนเงินใช้ให้
        อนึ่ง ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคลคนหนึ่งคนเดียวกันก็ได้

มาตรา 861  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น จะทำอย่างไร?
          มาตรา 861 อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย

มาตรา 860  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หาทนาย จ้างทนาย เกี่ยวกับ เงินส่วนที่ผิดกันอยู่นั้นถ้ายังมิได้ชำระ จะทำอย่างไร?
          มาตรา 860 เงินส่วนที่ผิดกันอยู่นั้นถ้ายังมิได้ชำระ ท่านให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่หักทอนบัญชีเสร็จเป็นต้นไป