Author: ทนายแมน

มาตรา 424

หาทนายเกี่ยวกับการเรียกร้องสินไหมทดแทนจากคดีเกี่ยวกับการละเมิด แล้วต้องการความช่วยเหลือจะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 424  ในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิดและกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าศาลไม่จำต้องดำเนินตามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่

มาตรา 423

หาทนายเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวที่เป็นเท็จ ทำให้เสียชื่อเสียง แล้วต้องการจัดการเอาผิดผู้กระทำจะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 423  ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้ ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่

มาตรา 422

หาทนายเกี่ยวกับการฝ่าฝืนกฎข้อบังคับ แล้วถูกตัดสินว่าเป็นผู้ทำผิด แล้วต้องการความช่วยเหลือจะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 422  ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด

มาตรา 421

หาทนายเกี่ยวกับการใช้สิทธิแล้วทำให้ผู้อื่นเสียหาย แล้วมีความผิด แล้วต้องการความช่วยเหลือจะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 421  การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 420

หาทนายเกี่ยวกับการประมาท หรือจงใจ ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต ทรัพย์สิน แล้วต้องการความช่วยเหลือจะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 420  ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

ที่ดินตาบอด


เมื่อพูดถึงที่ดินตาบอด หากเป็นคนในแวดวงด้านอสังหาริมทรัพย์คงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่สำหรับใครหลายคนที่เพิ่งได้มารู้จักคำนี้ อาจสงสัยว่า ที่ดินตาบอดคืออะไร เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลักษณะแบบไหนคือลักษณะของที่ดินตาบอด มาทำความเข้าใจกับคำว่า “ ที่ดินตาบอด ” กันค่ะ

“ ที่ดินตาบอด ” เป็นที่ดินที่มีที่ดินแปลงอื่นห้อมล้อมอยู่โดยรอบ ทำให้ไม่มีทางออกสู่สาธารณะ และเมื่อไม่มีทางออกสู่สาธารณะเจ้าของที่ดินแปลงที่ตาบอดนั้นสามารถที่จะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ออกสู่สาธารณะได้

ในกรณีที่ที่ดินแปลงนั้น ๆ มีทางออกแต่ต้องข้ามสระ บึง ทะเล หรือที่ชันซึ่งมีระดับที่ดินสูงหรือต่ำกว่าทางสาธารณะกันมาก ก็ให้ถือเสมือนว่าไม่มีทางออกสู่สาธารณะ ดังนั้นจึงสามารถผ่านที่ดินที่ห้อมล้อมอยู่ได้เช่นกัน

การจะผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ออกสู่ทางสาธารณะได้นั้น ต้องใช้ที่ดินและต้องเลือกวิธีให้พอควรแก่ความจำเป็น  และให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  ตามหลักในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรค 3

ยกตัวอย่างเช่น ที่ดินของนายโชค เป็นที่ดินซึ่งมีที่ดินของคนอื่นล้อมอยู่โดยรอบจนไม่สามารถที่จะออกสู่สาธารณะได้ โดยทางออกสู่สาธารณะที่ใกล้ที่สุดก็คือการผ่านที่ดินของนาย C ออกไปยังแม่น้ำซึ่งมีเรือโดยสารวิ่งผ่านไปมา แต่ถ้าใช้ที่ดินนาย B เป็นทางผ่านออกสู่สาธารณะยังต้องใช้ที่ดินของนาย A ที่ติดกันด้วยจึงจะออกสู่ถนนสาธารณะได้ จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่าที่ดินที่จะใช้เป็นทางผ่านออกไปสู่สาธารณะที่พอควรแก่ความจำเป็นและเสียหายน้อยที่สุดคือการผ่านที่ดินนาย C การที่ในแม่น้ำมีเรือโดยสารวิ่งผ่านไปมา ถือว่าเป็นการออกไปสู่สาธารณะแล้วไม่จำเป็นว่าต้องเป็นถนนเท่านั้น และเจ้าของที่ดินซึ่งที่ดินของตนถูกทำทางผ่านออกสู่สาธารณะก็มีสิทธิได้รับค่าทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการมีทางผ่านได้ด้วย

ในกรณีที่เป็นที่ดินแปลงใหญ่แต่ถูกแบ่งโอนกันจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะล่ะ ?

กรณีนี้  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ก็ได้วางหลักหลักกฎหมายรองรับเรื่องนี้ไว้เช่นกัน เจ้าของที่ดินตาบอดนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินได้ แต่เรียกร้องได้เฉพาะที่ดินที่ตนได้แบ่งแยกแบ่งโอนมาและไม่ต้องเสียค่าตอบแทน  

ตัวอย่างเช่น ที่ดินของนาย E ได้แบ่งแยกแบ่งโอนมาจากที่ดินของนาย D เมื่อแบ่งแยกเสร็จที่ดินของนาย E กลายเป็นที่ดินตาบอด ทั้งนี้ทั้งนั้นนาย E สามารถเรียกร้องเอาทางเดินจากนาย D เพื่อเป็นทางออกสู่สาธารณะได้


นิยามคำว่า “ที่ดินตาบอด” อ้างอิงจากประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1349 วรรคแรก

เขียนโดย ทค. ฐิติพร เศวตศิลป์