Author: ทนายแมน

มาตรา 326

หาทนายเกี่ยวกับการชำระหนี้ คืนเงินแล้วจะต้องมีเอกสารยืนยัน แต่ถ้าไม่มีแล้วถูกโกง แล้วต้องการจะเอาผิดบุคคลที่กระทำจะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 326  บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้นั้น และถ้าหนี้นั้นได้ชำระสิ้นเชิงแล้ว ผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ หรือให้ขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย ถ้าและเอกสารนั้นสูญหาย บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะให้จดแจ้งความข้อระงับหนี้ลงไว้ในใบเสร็จหรือในเอกสารอีกฉบับหนึ่งต่างหากก็ได้ ถ้าหนี้นั้นได้ชำระแต่บางส่วนก็ดี หรือถ้าเอกสารนั้นยังให้สิทธิอย่างอื่นใดแก่เจ้าหนี้อยู่ก็ดี ท่านว่าลูกหนี้ชอบแต่ที่จะได้รับใบเสร็จไว้เป็นคู่มือ และให้จดแจ้งการชำระหนี้นั้นลงไว้ในเอกสาร

มาตรา 341

หาทนายเกี่ยวกับการหลอกลวง ฉ้อโกง เพื่อเอาทรัพย์นั้นไป แล้วต้องการจะเอาผิดบุคคลที่กระทำจะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 341  ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 297

หาทนายเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกาย จนถึงการบาดเจ็บสาหัส แล้วต้องการจะเอาผิดบุคคลที่กระทำจะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 297  ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท อันตรายสาหัสนั้น คือ (1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท (2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์ (3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด (4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว (5) แท้งลูก (6) จิตพิการอย่างติดตัว (7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต (8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน

มาตรา 295

หาทนายเกี่ยวกับการทำร้ายผู้อื่น จนทำให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจ แล้วต้องการจะเอาผิดบุคคลที่กระทำจะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 295  ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 1749

หาทนายเกี่ยวกับการฟ้องร้องมรดก อ้างสิทธิเป็นทายาท แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ แล้วต้องการจะเอาผิดบุคคลที่กระทำจะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 1749  ถ้ามีคดีฟ้องเรียกทรัพย์มรดก ผู้ซึ่งอ้างว่าตนเป็นทายาทมีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้น จะร้องสอดเข้ามาในคดีก็ได้ แต่ศาลจะเรียกทายาทอื่น นอกจากคู่ความ หรือผู้ร้องสอด ให้เข้ามารับส่วนแบ่ง หรือกันส่วนแห่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นนั้นไม่ได้

มาตรา 1745

หาทนายเกี่ยวกับการแบ่งมรดก สิทธิในการแบ่งมรดกกัน แล้วต้องการผู้เข้ามาช่วยจัดการจะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 1745  ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทเหล่านั้นมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันจนกว่าจะได้แบ่งมรดกกันเสร็จแล้ว และให้ใช้มาตรา 1356 ถึงมาตรา 1366 แห่งประมวลกฎหมายนี้บังคับ เพียงเท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติแห่งบรรพนี้

มาตรา 680

หาทนายเกี่ยวกับการค้ำประกัน แล้วผู้มี่เป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ จนเจ้าหนี้จะมาฟ้องคนค้ำ แล้วต้องการผู้ช่วยจะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 680  อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

มาตรา 653

หาทนายเกี่ยวกับการยืมเงิน แล้วผู้ยืมไม่ยอมคืนเงิน แต่ว่ามีหลักฐาน แล้วต้องการจัดการผู้กระทำผิดจะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 653  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

บุคคลวิกลจริต ทำนิติกรรมได้ไหม?


นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ดังนั้นการทำนิติกรรมจึงไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ในรูปแบบของการทำสัญญาเสมอไป แม้แต่การตกลงซื้อขายน้ำเปล่ากันแค่ 1 ขวด ก็เป็นการทำนิติกรรมระหว่างกันแล้ว

บุคคลวิกลจริต = คนบ้า ?

ในส่วนของบุคคลวิกลจริต ในความเข้าใจของบุคคลทั่วไปเมื่อมาอ่านตัวบทกฎหมายอาจจะพาสับสนได้ บุคคลวิกลจริตคือคนบ้า สติไม่ดี แต่ในทางกฎหมายแบ่งแยกการทำนิติกรรมของบุคคลวิกลจริตไว้ 2 กรณี คือ กรณีที่ศาลยังไม่สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถซึ่งเรียกว่า บุคคลวิกลจริต และกรณีที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถเรียกว่า คนไร้ความสามารถ ซึ่งผลของการทำนิติกรรมก็จะแตกต่างกันไป

ผลของการทำนิติกรรมมีด้วยกัน 3 แบบ คือ สมบูรณ์ โมฆียะ และ โมฆะ สิ่งที่ยากคือการแยกระหว่าง โมฆียะและโมฆะ โมฆียะคือการที่นิติกรรมมีความสมบูรณ์อยู่เรื่อยมาจนกว่าจะถูกบอกล้างหรือบอกเลิก ส่วนโมฆะ คือการที่นิติกรรมนั้นไม่มีผลมาตั้งแต่แรก

มาตรา 30 การใดอันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังไม่สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต จะเห็นได้ว่าหากไม่ได้กระทำในขณะที่จริตวิกลอยู่และคู่กรณีอีกฝ่ายรู้ว่าผู้กระทำ เป็นบุคคลวิกลจริต ผลของนิติกรรมย่อมเป็นสมบูรณ์เสมอ เท่ากับว่ากฎหมายยังเปิดโอกาสให้คนวิกลจริตทำนิติกรรมได้ในขณะที่จิตปกติ

ตัวอย่างเช่น นาง A เป็นคนบ้า วิกลจริต แต่งตัวด้วยชุดนางรำ จัดหนักจัดเต็มอย่างกับนางรำอาชีพ เดินมาป้วนเปี้ยนบริเวณที่มีการจัดพิธีรำแก้บนพอดิบพอดี นาง A เกิดอยากกินลูกชิ้นปิ้ง จึงเดินไปซื้อลูกชิ้นปิ้ง 5 ไม้ แม่ค้าขายลูกชิ้นปิ้งก็ขายให้โดยไม่เอะใจอะไร ซึ่งนาง A ก็จ่ายเงินให้ พูดจาดีเหมือนคนปกติทุกอย่าง การทำนิติกรรมซื้อลูกชิ้นปิ้งของนาง A จึงมีผลเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆียะที่จะทำให้แม่ค้ามีสิทธิบอกล้างนิติกรรมได้ เนื่องจากในขณะซื้อลูกชิ้นปิ้งนาง A ไม่ได้มีอาการวิกลจริตอยู่ และแม่ค้าก็ไม่ได้รู้ว่านาง A เป็นคนวิกลจริต


ความหมายของนิติกรรม อ้างอิงจากประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 149

เขียนโดย ทค. ฐิติพร เศวตศิลป์

มาตรา 425

หาทนายเกี่ยวกับการกระทำผิดของลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างไปทำผิดในผลทางละเมิด นายจ้างต้องรับผิดด้วย แล้วต้องการความช่วยเหลือจะทำอย่างไร? ติดต่อมาหาทนายแมนสิ เราช่วยคุณได้

มาตรา 425  นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น